วงเงินสูงสุดไม่เกิน 3,000,000 บาท

แนวทางการพิจารณาการให้สมาชิกกู้เงินสามัญ

          เป็นไปตามประกาศที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด ได้แก่

อายุสมาชิก จำนวนเงินกู้ วงเงินไม่เกิน
ตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป ไม่ถึง 5 ปี 95 เท่า 2,000,000
ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป 95 เท่า 3,000,000

 

1. วัตถุประสงค์

เงินกู้สามัญ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกและสมาชิกสมทบกู้เงินในการอันจำเป็นหรือมีประโยชน์

2. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิกู้

2.1 เป็นสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 เดือน

2.2 ส่งเงินค่าหุ้นสม่ำเสมอ และหรือมีประวัติการชำระหนี้ดี

2.3 ไม่ปิดบังการยื่นลาออกจากราชการก่อนกำหนดภายใน  1  ปี  นับแต่วันที่ยื่นกู้ หรือไม่ปิดบังหนี้สินจากสถาบันการเงินอื่น และไม่ประพฤติตนหรือกระทำการใดๆ อันเป็นเหตุให้เห็นว่าไม่สุจริต หรือทำให้สหกรณ์ได้รับความเสียหาย

2.4 ต้องมีเอกสารหลักฐานครบถ้วนตามประกาศสหกรณ์

2.5 กรณีการรับโอนสมาชิกระหว่างสหกรณ์ จะนับอายุการเป็นสมาชิกต่อเนื่องประกอบการพิจารณาเงินกู้ให้

3. จำนวนเงินกู้สามัญ ที่อาจให้สมาชิกกู้เป็นอำนาจของคณะกรรมการเงินกู้ จะพิจารณาเห็นสมควร วงเงินที่สมาชิกอาจกู้ได้ไม่เกิน 3,000,000 บาท (สามล้านบาทถ้วน) หรือไม่เกินจำนวน 95 เท่าของเงินได้รายเดือน สุดแต่จำนวนใดจะน้อยกว่า โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

3.1  เป็นสมาชิกสหกรณ์ตั้งแต่ 1 เดือน ขึ้นไปแต่ไม่ถึง 5 ปี กู้เงินได้ไม่เกินจำนวน 95 เท่าของเงินได้รายเดือนแต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท (สองล้านบาทถ้วน)

3.2  เป็นสมาชิกสหกรณ์ตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไปกู้เงินได้ไม่เกินจำนวน 95 เท่าของเงินได้รายเดือนแต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท (สามล้านบาทถ้วน)

3.3  เงินกู้สามัญต้องทำหนังสือสัญญาเงินกู้พร้อมแนบเอกสารตามที่สหกรณ์กำหนดและมีสมาชิก 2 คน ค้ำประกัน โดยสมาชิก 1 คน  สามารถค้ำประกันสมาชิกผู้กู้(วงเงินกู้)ได้ 2 คน (2 สัญญา) สมาชิกผู้กู้และสมาชิกผู้ค้ำประกันต้องลงนามพร้อมพิมพ์ลายนิ้วมือในหนังสือสัญญาเงินกู้และหนังสือค้ำประกันต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ หรือตามที่สหกรณ์กำหนด                               

3.4   กู้เงินเกินกว่า 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) สมาชิกผู้กู้ต้องตรวจสอบเครดิตบูโร แนบมาพร้อมคำขอกู้ทุกครั้ง

3.5 กู้เงินเกินกว่า 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน) ต้องมีหุ้นสะสมและหรือเงินฝากออมทรัพย์รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของวงเงินกู้เว้นแต่กรณีทำประกันชีวิตต้องมีหุ้นสะสมและหรือเงินฝากออมทรัพย์รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของวงเงินกู้ หากสมาชิกมีหุ้นและหรือเงินฝากไม่ถึงร้อยละ 20 หรือร้อยละ 10 ของวงเงินกู้แล้วแต่ละกรณี สหกรณ์จะหักส่วนต่างเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของสมาชิก โดยสมาชิกสามารถถอนเงินฝากส่วนที่หักไว้ทั้งหมดหรือบางส่วน ได้เมื่อสมาชิกไม่มีหนี้เงินกู้ค้างชำระต่อสหกรณ์ หรือสมาชิกมีหุ้นและหรือเงินฝากไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 หรือร้อยละ 10 ของวงเงินกู้เว้นแต่ผู้กู้ที่หลักประกันบกพร่อง

3.6 สมาชิกที่กู้เงินเกินกว่าทุนเรือนหุ้นที่มีอยู่ หากส่วนที่เกินกว่าทุนเรือนหุ้นไม่เกิน 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) ให้ใช้บุคคลค้ำประกัน  1 คน

3.7  ในกรณีที่สมาชิกได้รับความเดือดร้อนหรือความจำเป็น สามารถแสดงหลักฐานประกอบให้ชัดเจน ไม่ว่าความจำเป็นในการประนอมหนี้ ความจำเป็นที่จะต้องรวมหนี้ในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกัน การโอนสมาชิกระหว่างสหกรณ์ ความจำเป็นอื่นเพื่อประโยชน์ของสมาชิกหรือสหกรณ์  คณะกรรมการเงินกู้อาจให้เงินกู้แก่สมาชิกเกินกว่าข้อกำหนดใน 3.1 ก็ได้ แต่เงินงวดชำระหนี้ต้องไม่เกินเงินได้รายเดือนของสมาชิก

3.8  ในกรณีที่สมาชิกได้รับความเดือดร้อนหรือความจำเป็น สามารถแสดงหลักฐานประกอบให้ชัดเจน ไม่ว่าความจำเป็นในการประนอมหนี้ ความจำเป็นที่จะต้องรวมหนี้ในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกัน การโอนสมาชิกระหว่างสหกรณ์ ความจำเป็นอื่นเพื่อประโยชน์ของสมาชิกหรือสหกรณ์ คณะกรรมการอาจให้เงินกู้แก่สมาชิกเกินกว่าข้อกำหนดใน 3.2 ก็ได้ แต่เงินงวดชำระหนี้ต้องไม่เกินเงินได้รายเดือนของสมาชิก และต้องได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่าสองในสามของที่ประชุมคณะกรรมการที่เข้าร่วมประชุม

3.9  การชำระหนี้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยต้องชำระให้เสร็จสิ้นภายในการเกษียณอายุราชการของผู้กู้หรือผู้ค้ำประกันที่มีอายุราชการเหลือน้อยที่สุด แต่ต้องไม่เกิน 200 งวด เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้

        (1) การชำระหนี้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยของผู้ค้ำประกันในมูลหนี้ที่ชำระแทนผู้กู้ คณะกรรมการหรือคณะกรรมการเงินกู้ อาจพิจารณาการชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นเกินกว่าการเกษียณอายุราชการของผู้กู้หรือผู้ค้ำประกันก็ได้

        (2) การชำระหนี้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยของผู้กู้ที่เข้ามาเป็นผู้ค้ำประกันให้แก่ผู้กู้รายที่หลักประกันบกพร่อง คณะกรรมการ หรือคณะกรรมการเงินกู้อาจพิจารณาการชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นเกินกว่าการเกษียณอายุราชการของผู้กู้หรือผู้ค้ำประกันก็ได้

(3) การชำระหนี้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยของผู้กู้ที่หลักประกันบกพร่อง ซึ่งได้ขอกู้ใหม่เพื่อให้หลักประกันสมบูรณ์ คณะกรรมการ หรือคณะกรรมการเงินกู้อาจพิจารณาการชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นเกินกว่าการเกษียณอายุราชการของผู้กู้หรือผู้ค้ำประกันก็ได้

        (4) การชำระหนี้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยของสมาชิกที่ค้างชำระกับสถาบันการเงิน หรือเจ้าหนี้รายอื่น และอยู่ในระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้หรืออยู่ในระหว่างกระบวนการทางกฎหมายหรืออยู่ในระหว่างขอปิดบัญชีกับสถาบันการเงิน หรือเจ้าหนี้รายอื่น คณะกรรมการ หรือคณะกรรมการเงินกู้อาจพิจารณาการชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นเกินกว่าการเกษียณอายุราชการของผู้กู้หรือผู้ค้ำประกันก็ได้               

(5) สมาชิกที่มีอายุราชการเหลืออยู่ไม่เกิน 5 ปี ที่มีความเดือดร้อนหรือมีความจำเป็นประสงค์จะกู้เงินโดยขอชำระหนี้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเกินกว่าการเกษียณอายุราชการของสมาชิกผู้กู้ คณะกรรมการหรือคณะกรรมการเงินกู้อาจพิจารณาขยายเวลาการชำระหนี้ออกไปตามที่ร้องขอแต่ต้องไม่เกิน  60 งวด นับแต่การเกษียณอายุราชการของผู้กู้  โดยผู้ค้ำประกันเงินกู้นั้นต้องมีอายุราชการเหลืออยู่เท่ากับหรือมากกว่าระยะเวลาที่ขยายเวลาการชำระหนี้ออกไป

การขยายเวลาตาม (1) (2) (3) และ (4) ต้องไม่เกิน 200 งวด และต้องเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกและสหกรณ์อย่างแท้จริง โดยให้ยื่นคำร้องพร้อมเหตุผลความจำเป็นต่อสหกรณ์

3.10 สมาชิกที่พ้นจากราชการหรืองานประจำซึ่งไม่ประสงค์จะถอนค่าหุ้นตามระเบียบ นายทะเบียนที่มีความเดือดร้อนหรือมีความจำเป็นประสงค์จะกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยเงินกู้พิเศษที่ไม่ได้รับเงินเฉลี่ยคืน โดยขอชำระหนี้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยจากเงินปันผลในแต่ละปีคณะกรรมการหรือคณะกรรมการเงินกู้อาจพิจารณาอนุมัติการกู้ตามที่ร้องขอภายในวงเงินไม่เกินร้อยละ 90 ของทุนเรือนหุ้น โดยจำนวนงวดที่ชำระหนี้ให้เป็นไปตามจำนวนเงินปันผลที่ชำระหนี้ในแต่ละปีจนครบจำนวนหนี้ที่ต้องชำระ

3.11 อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการ และหรือคณะกรรมการเงินกู้เห็นสมควร

4. การขอกู้เงินของสมาชิกและสมาชิกสมทบไม่เกินร้อยละ 95 ของทุนเรือนหุ้นและหรือเงินฝากที่มีอยู่ในสหกรณ์ ต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 200 งวด

5. สมาชิกที่ขอกู้เงินกับสหกรณ์ต้องมีเงินได้รายเดือนหรือรายได้อื่นหลังหักค่าใช้จ่ายเพียงพอในการชำระหนี้เงินงวดรายเดือน

6. สมาชิกและสมาชิกสมทบอาจยื่นขอกู้เงินสามัญขณะที่ยังชำระหนี้เงินกู้สามัญเดิมไม่ครบก็ได้แต่ทั้งนี้ต้องผ่อนชำระหนี้เดิมมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 งวด

7. อัตราดอกเบี้ย เป็นไปตามประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสหกรณ์

8. ผู้กู้และผู้ค้ำประกันต้องลงลายมือชื่อและพิมพ์ลายนิ้วมือในสัญญาเงินกู้ สัญญาค้ำประกันและเอกสารตามที่กำหนดต่อหน้าเจ้าหน้าที่สหกรณ์

     กรณีผู้กู้และผู้ค้ำประกันที่ปฏิบัติงานนอกเขตกรุงเทพมหานครและไม่สามารถมาลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่สหกรณ์ได้ ให้ลงลายมือชื่อและพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าผู้บังคับบัญชาระดับสารวัตรขึ้นไป  โดยให้มีภาพถ่ายการดำเนินการและให้ผู้บังคับบัญชานั้นลงลายมือชื่อกำกับในภาพถ่ายพร้อมด้วยผู้กู้และผู้ค้ำประกันส่งมายังสหกรณ์พร้อมด้วยสัญญาเงินกู้ สัญญาค้ำประกัน และเอกสารที่เกี่ยวข้อง

 

 

ประกาศ  ณ  วันที่  28  มิถุนายน  พ.ศ. 2565

 

เอกสารประกอบการกู้เงิน

1. สำเนาหน้าบัญชีธนาคารที่ให้โอนเงินของผู้กู้

2. สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ  ผู้กู้-ผู้ค้ำประกัน  และคู่สมรส (ถ้ามี)

3. สำเนาทะเบียนบ้านของ  ผู้กู้-ผู้ค้ำประกัน  และคู่สมรส (ถ้ามี)

4. สำเนาทะเบียนสมรส  ผู้กู้-ผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี)

5. สำเนาสลิปเงินเดือนของ  ผู้กู้-ผู้ค้ำประกัน (สารวัตรการเงินรับรองสำเนา)

6. สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการผู้บังคับบัญชาระดับสารวัตรขึ้นไปของ ผู้กู้

***กู้เงินเกินกว่า 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) สมาชิกผู้กู้ต้องตรวจสอบเครดิตบูโร แนบมาพร้อมคำขอกู้ทุกครั้ง***

 

***หมายเหตุ***  การทำหนังสือสัญญาเงินกู้  ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิดหรือแก้ไขข้อความใด ๆ